วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม
หน้า 2
วิกิพีเดีย.2552.แอลกอฮอล์.สืบค้นข้อมูลเมื่อ 12 กรกฎาคม 2552.จาก http://www.wikipedia.org/wiki
แอลกอฮอล์.ม.ป.ป.สืบค้นข้อมูลเมื่อ 13 กรกฎาคม 2552.จากhttp://www.uttaradit.palice.go.th
ไตรภพ อินทุใสและคณะ.2547.เชื้อเพลืงและวัสดุหล่อลื่น.กรุงเทพ.ฟิสิกส์เซ็นเตอร์

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เนื้อเรื่อง

เนื้อเรื่อง
หน้า 1
บทนำ
แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าแอลกอฮอลิซึ่ม (โรคติดแอลกอฮอล์)
คุณสมบัติโดยทั่วไป
แอลกอฮอล์ เป็นสารประกอบอินทรีที่เป็นอนุพันธ์ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเผาไหม้ได้อย่างต่อเนื่องจะสะอาด แต่มีเตาไม่เพียงกี่ชนิดเท่านั้น ที่จะใช้แอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิงได้ นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังมีการเผาไหม้ ที่มองไม่ค่องเห็นเปลวไฟอย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะเป็นการเสี่ยงสำหรับอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้
แอลกอฮอล์ เป็นเชื้อเพลิงเหลวชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันเพราะเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด โดยการนำไปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน นอกจากนี้ยังนำไปผสมกับน้ำมันแก๊สโซลีน ได้เป็นน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ได้อีกด้วย ซึ่งแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้จากมวลชีวภาพ และจากสารไฮโดรคาร์บอน
แอลกอฮอล์เป็นของเหลวไม่มีสี สามารถนำไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับใช้ในเรื่องยนต์แก๊สโซลีนได้ แอลกอฮอล์ที่นำไปผสมกับเครื่องดื่มมึนเมา คือ เอทิลแอลกอฮอล์ มักจะนำไปผสมกับ เหล้า เบียร์ วิสกี้ จะมีปริมาณเอทิลแอลกอฮอล์ที่แตกต่างกันไป
สมบัติของแอลกอฮอล์

1. จุดเดือด
จุดเดือดของแอลกอฮอล์จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนอะตอมคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น เพราะเมื่อจำนวนอะตอมคาร์บอนเพิ่มขึ้นมีผลให้มวลโมเลกุลมีค่าสูงขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลจึงสูงขึ้นด้วย เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นโมเลกุลมีขั้ว จึงมีทั้งแรงลอนดอนและแรงดึงดูดระหว่างขั้ว เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล นอกจากนี้หมู่ –OH สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของแอลกอฮอล์ได้
แอลกอฮอล์จึงมีจุดเดือดสูงกว่าแอลเคนที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอนเท่ากัน เนื่องจากแอลเคนเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว จึงมีเฉพาะแรงลอนดอนเท่านั้น

2. การละลายน้ำ

แอลกอฮอล์ที่โมเลกุลมี C 1–3 อะตอม ละลายน้ำได้ดี เนื่องจากแอลกอฮอล์มีหมู่ –OH ซึ่งเป็นส่วนที่มีขั้วในโมเลกุลและเกิดพันธะไฮโดรเจนกับน้ำได้ จึงทำให้แอลกอฮอล์ละลายน้ำ แต่เมื่อมีจำนวนอะตอม C มากขึ้น จะละลายน้ำได้น้อยลง เนื่องจากเมื่อโมเลกุลมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนที่ไม่มีขั้วมีมากขึ้น สภาพขั้วของโมเลกุลจะอ่อนลง ส่งผลให้ละลายน้ำได้น้อยลง นอกจากนีร้การละลายน้ำของแอลกอฮอล์ยังขึ้นอยู่กับรูปร่างโมเลกุล ตำแหน่ง และจำนวนหมู่ –OH ด้วย

สมบัติทางเคมี

1. ปฏิกิริยาการเผาไหม้

แอลกอฮอล์สามารถติดไฟได้ดี ไม่มีเขม่าและควัน ได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน ดังสมการ
2. ปฏิกิริยากับโลหะที่ว่องไว

แอลกอฮอล์ไม่เกิดปฏิกิริยากับ NaHCO3 จึงไม่แสดงสมบัติเป็นกรด แต่สามารถเกิดปฏิกิริยากับโลหะที่ว่องไว (Active metal) เช่น Na โดยโลหะจะเข้าไปแทนที่อะตอมของ H ในหมู่ –OH จะได้แก๊สไฮโดรเจน ดังสมการ
ชนิด

1. เมทานอล (Methanol) เป็นแอลกอฮอล์ที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอนน้อยที่สุด เตรียมได้จากการเผาไม้ที่อุณหภูมิสูงในภาวะที่ปราศจากอากาศ ในอุตสาหกรรมเตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างคาร์บอนมอนอกไซด์กับไฮโดรเจนภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง โดยมีโลหะออกไซด์ เช่น Fe2O3 , ZnO / Cr2O3 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ
2. เอทานอล (ethanol) เป็นแอลกอฮอล์อีกชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ปรโยชน์ เตรียมไก้จากการหมักน้ำตาลที่ได้จากผลไม้ หรือแป้งจากธัญพืชในที่ปราศจากออกซิเจน เอนไซม์จากยีสต์หรือแคทีเรียจะช่วยเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ
ประโยชน์

1) ใช้เป็นตัวทำละลายในการผลิตน้ำหอมและยา

2) ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโรค

3) เอทานอลผสมกับน้ำมันเบนซินออกเทน 91 ในอัตราส่วนเอทานอล 1 ส่วน กับน้ำมันเบนซิน 9 ส่วน เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์

4) เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสีย้อม ยา เครื่องสำอาง และใช้ผลิตสารประกอบอินทรีย์ชนิดอื่น เช่น กรดแอซีติก (ไตรภพ อินทุใสและคณะ,2547)
บทสรุป
แอลกอฮอล์เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีหมู่ ไฮดรอกซิล (OH) ต่ออยู่กับสายโซ่ของไฮโดรคาร์บอน มีสูตรทางเคมีคือ C2H5OH เกิดจากการหมักพืชที่มีสารประเภทแป้งและน้ำตาล อ้อย บีทรูท แป้ง มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง โดยที่จะเกิดจากแป้งให้เป็นน้ำตาลแล้วเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์อีกครั้งด้านการใช้เอทานอลสำหรับการทำเชื้อเพลิง ในปัจจุบันมีการใช้เอทานอลเป็นส่วนผสมของน้ำมันเบนซินเรียกว่า แกสโซฮอลล์เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำมันลงเอทานอลที่ใช้เป็นส่วนประกอบของ เหล้า เบียร์นั้น มีผลต่อร่างกายเช่นกันเนื่องจากเอทานอลสามารถละลายน้ำได้ และดูดซึมได้ดีและเร็วในทางเดินอาหาร โดยเฉพาะที่กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ สำหรับผลของเอทานอลที่มีต่อร่างกายสามารถติดตามต่อได้ใน web site ด้านล่างครับ

สารบัญ

สารบัญ
หน้า ข

เรื่อง
หน้า
คำนำ
บทนำ
1
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1
สมบัตของแอลกอฮอล์
1
สมบัติทางเคมี
1
ชนิด
1
ประโยชน์
1
บทสรุป
1
บรรณานุกรม
2

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คำนำ

คำนำ
หน้า ก
รายงายเล่มนี้ได้จัดทำเพื่อ ให้ตัวของนักศึกษาเองได้รู้จักการศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งในขณะเดียวกันตัวข้าพเจ้าเองก็ได้ถือโอกาศนี้ได้ศึกษาและหาความรู้ไปในตัวรายงานเล่มนี้ยังได้สอนวิธีการเผยแพร่ลงสู่อินเตอร์เน็ตด้วยเพราะฉนั้นตัวของข้าพเจ้าเองก็ได้รู้จักการเผยแพร่ลงสู่อินเตอร์ด้วยรายงานเล่มยังให้ประโยชน์ต่อตัวของข้าพเจ้าเองเป็นอย่างมาก
เรื่องราวเกี่ยวกับแอลกอฮอล์
ผู้จัดทำขอขอบคุณคุณครูผู้สอนและผู้ที่มีส่วนช่วยในรายงานนี้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี
จตุรงค์ วุฒอนันต์ชัย

ปกใน

แอลกอฮอล์
จตุรงค์ วุฒิอนันต์ชัย
รหัส 5231010016
แผนก ช่างเทคนิคยานยนต์
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
รหัส 3000-1601
ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2552
วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม

ปกนอก

แอลกอฮอล์
จตุรงค์ วุฒิอนันต์ชัย
รหัส 5231010016
แผนกวิชา เทคนิคยานยนต์